สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า นาย รัฐธรรมนูญ เดชบุรัมย์ ปวส 1/3 ไฟฟ้ากำลัง
สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
สายและการต่อ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
สาย(wire) | ให้กระแสผ่านได้ง่ายมากจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นของวงจร | |
จุดต่อสาย | เขียนหยดจุดที่สายต่อกัน ถ้าสายต่อและตัดกันเป็นสี่แยก ต้องเลื่อนให้เหลื่อมกันเล็กน้อยเป็นรูปตัวทีสองตัวต่อกลับหัว เช่นจุดต่อด้านขวามือ | |
สายไม่ต่อกัน | ในวงจรที่ซับซ้อนมีสายมากจำเป็นต้องเขียนสายตัดกันแต่ไม่ต่อกัน นิยมใช้สองวิธีคือเส้นตรงตัดกันโดยไม่มีจุดหยด หรือเส้นหนึ่งเขียนโค้งข้าม อีกเส้นที่เป็นเส้นตรงดังรูปทางขวา อยากแนะนำให้ใช้แบบหลังเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นจุดต่อที่ลืมใส่จุดหยด |
แหล่งจ่ายกำลัง | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
เซลล์ | แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า เซลล์ตัวเดียวจะไม่เรียกว่าแบตเตอรี่ | |
แบตเตอรี่ | แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่จะมีมากกว่า 1 เซลล์ต่อเข้าด้วยกัน | |
ป้อนไฟตรง(DC) | ป้อนพลังงานไฟฟ้า DC = ไฟกระแสตรง ไหลทิศทางเดียวเสมอ | |
ป้อนไฟสลับ(AC) | ป้อนพลังงานไฟฟ้า AC = ไฟกระแสสลับ เปลี่ยนทิศทางการไหลตลอด | |
ฟิวส์ | ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย โดยตัวมันจะละลายขาดหากมีกระแสไหลผ่านเกินค่ากำหนด | |
หม้อแปลง | ขดลวดสองขดเชื่อมโยงกันด้วยแกนเหล็ก หม้อแปลงใช้แปลงแรงดันกระแสสลับให้สูงขึ้นหรือลดลง พลังงานจะถ่ายโอนระหว่าง ขดลวดโดยสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก และไม่มีการต่อกันทางไฟฟ้าระหว่างขดลวด ทั้งสอง | |
ดิน(earth) (กราวด์) | ต่อลงดิน สำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนี่คือ 0V (ศูนย์โวลท์)ของแหล่งจ่ายกำลัง แต่สำหรับไฟฟ้าหลักและวงจรวิทยุบางวงจรหมายถึงดิน บางที่เราเรียกว่ากราวด์ |
อุปกรณ์ด้านออก: หลอดไฟ, ใส้ความร้อน, มอเตอร์ ฯลฯ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
หลอด (แสงสว่าง) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้เป็นหลอดให้แสงสว่าง ตัวอย่างเช่นหลอดไฟหน้ารถยนต์ หรือหลอดไฟฉาย | |
หลอด(ตัวชี้) (indicator) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์นี้ใช้สำหรับเป็นหลอดตัวชี้บอก ตัวอย่างเช่นหลอดไฟเตือนบนหน้าปัดรถยนต์ | |
ตัวทำความร้อน (heater) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน | |
มอเตอร์ | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจล (หมุน) | |
กระดิ่ง(bell) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง | |
ออด (buzzer) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง | |
ตัวเหนี่ยวนำ (ขดลวด, โซลินอยด์) | ขดลวด เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็ก หากมีแกนเหล็กอยู่ข้างในจะสามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยทำให้เกิดการผลักได้ |
สวิทช์ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
สวิทช์กดต่อ | สวิทช์กด ยอมให้กระแสไหลผ่านเมื่อสวิทช์ถูกกด เช่น สวิทช์กริ่งประตูบ้าน | |
สวิทช์กดตัด | สวิทช์แบบกด ซึ่งปกติจะต่อ (on) และเมื่อถูกกดจะตัด (off) | |
สวิทช์ปิดเปิด (SPST) | SPST(Single Pole Single Throw) สวิทช์ปิดเปิด ยอมให้กระแสไหลผ่านที่ตำแหน่งต่อ (on) | |
สวิทช์สองทาง (SPDT) | SPDT(Single Pole Double Throw) สวิทช์สองทาง เปลี่ยนสลับการต่อเพื่อให้กระแสไหลผ่านได้ไปทางตำแหน่งที่เลือก สวิทช์สองทางบางแบบจะมีสามตำแหน่ง โดยตำแหน่งกลางไม่ต่อ(off) ตำแหน่งจึงเป็น เปิด-ปิด-เปิด(on-off-on) | |
สวิทช์ปิดเปิดคู่ (DPST) | DPST(Double Pole Single Throw) สวิทช์ปิดเปิดแบบคู่ ปิดเปิดพร้อมกัน เหมาะสำหรับตัด-ต่อหรือปิด-เปิด วงจรพร้อมกันสองเส้น เช่น ไฟเมน | |
สวิทช์สองทางคู่ (DPDT) | DPDT(Double Pole Double Throw) สวิทช์สองทางแบบคู่ เปลี่ยนสลับการต่อพร้อมกัน เช่นใช้ในการต่อเพื่อกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ดีซี สวิทช์บางแบบจะมีสามตำแหน่งคือตำแหน่งไม่ต่อ(off)ตรงกลางด้วย | |
รีเลย์ | สวิทช์ทำงานด้วยไฟฟ้า เมื่อมีไฟ เช่น 12โวลท์ 24 โวลท์ มาป้อนให้ขดลวดแกนเหล็ก จะเกิดการดูดตัวสัมผัสให้ต่อกัน ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ต่อวงจรหรือตัดวงจร แล้วแต่ว่าต่ออยู่ที่ขา NO หรือ NC NO = ปกติตัด COM = ขาร่วม NC = ปกติต่อ |
ตัวต้านทาน | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ตัวต้านทาน | ตัวต้านทานทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส เช่น การใช้ตัวต้านทานต่อเพื่อจำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LED | |
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (รีโอสตาท) | ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสองคอนแทค (รีโอสตาท)ใช้สำหรับปรับกระแส ตัวอย่างเช่น ปรับความสว่างของหลอดไฟ, ปรับความเร็วมอเตอร์, และปรับอัตราการไหลของประจุเข้าในตัวเก็บประจุ เป็นต้น | |
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Potentiometer) | ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้มีสามคอนแทค (โพเทนชิออมิเตอร์) ใช้สำหรับควบคุมแรงดัน สามารถใช้เหมือนกับตัวแปลงเพื่อแปลง ตำแหน่ง(มุมของการหมุน)เป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น วอลุ่มปรับความดัง โทนคอนโทรลปรับทุ้มแหลม | |
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Preset) | ตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดนี้ใช้สำหรับปรับตั้งล่วงหน้า(preset)ใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจรจากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก บางแบบเป็นรูปเกือกม้าปรับได้ไม่ถึงรอบ บางแบบปรับละเอียดได้หลายรอบ |
ตัวเก็บประจุ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ตัวเก็บประจุ | ตัวเก็บประจุ เก็บสะสมประจุไฟฟ้า ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา สามารถใช้เป็นตัวกรอง เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ | |
ตัวเก็บประจุมีขั้ว | ตัวเก็บประจุชนิดมีขั้ว เก็บสะสมประจุไฟฟ้า เวลาใช้ต้องต่อให้ถูกขั้ว ใช้ต่อร่วมกับตัวต้านทานเป็นวงจรเวลา สามารถใช้เป็นตัวกรอง เป็นตัวกั้นไฟดีซีไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้สัญญาณเอซีผ่านได้ | |
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ | ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ใช้ในจูนเนอร์วิทยุ | |
ตัวเก็บประจุทริมเมอร์ | ตัวเก็บประจุปรับค่าได้โดยการใช้ไขควงเล็กๆหรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันปรับ ถูกปรับตั้งตอน ประกอบปรับแต่งวงจร จากนั้นอาจไม่มีการปรับอีก |
ไดโอด | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ไดโอด | อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียว | |
LED ไดโอดเปล่งแสง | อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง | |
ซีเนอร์ไดโอด | ไดโอดที่รักษาแรงดันคงที่ตกคร่อมตัวมัน | |
ไดโอดพลังแสง | ไดโอดที่มีความไวต่อแสง |
ทรานซิสเตอร์ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ทรานซิสเตอร์ NPN | ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดNPN สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching) | |
ทรานซิสเตอร์ PNP | ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดPNP สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเป็นตัวขยาย(Amplifier)หรือวงจรสวิทชิ่ง(Switching) | |
ทรานซิสเตอร์พลังแสง | ทรานซิสเตอร์ที่มีความไวต่อแสง |
อปุกรณ์เสียงและวิทยุ | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ไมโครโฟน | ตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า | |
หูฟัง | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง | |
ลำโพง | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง | |
ตัวแปลงพิโซ (Piezo) | ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง | |
ภาคขยาย (สัญลักษณ์ทั่วไป) | วงจรภาคขยายมีทางเข้าเดียว จริงๆแล้วเป็นสัญลักษณ์แผนภาพบล็อค เพราะทำหน้าที่แสดงแทนวงจรไม่ใช่แทนอุปกรณ์เดี่ยวๆ | |
สายอากาศ (Antenna) | อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อรับหรือส่งสัญญาณวิทยุ |
มิเตอร์และออสซิลโลสโคป | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
โวลท์มิเตอร์ | โวลท์มิเตอร์ใช้วัดแรงดัน ชื่อที่ถูกต้องของแรงดันคือความต่างศักด์แต่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่าแรงดัน | |
แอมป์มิเตอร์ | แอมป์มิเตอร์ใช้วัดกระแส | |
กัลวาโนมิเตอร์ | กัลวาโนมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีความไวสูงใช้สำหรับวัดค่ากระแสน้อยๆ เช่น1 มิลลิแอมป์หรือต่ำกว่า | |
โอห์มมิเตอร์ | โอห์มมิเตอร์ใช้วัดความต้านทาน เครื่องมัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่สามารถตั้งวัดความต้านทานได้ | |
ออสซิลโลสโคป | ออสซิลโลสโคปใช้แสดงรูปคลื่นสัญญาณทางไฟฟ้า และสามารถวัดแรงดันกับช่วงเวลาของสัญญาณ |
ตัวตรวจรู้(Sensors) (อุปกรณ์ทางเข้า) | ||
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
ตัวต้านทานเปลี่ยน แปลงตามแสง(LDR) | ตัวแปลงที่แปลงความสว่าง(แสง)เป็นความต้านทาน(คุณสมบัติทางไฟฟ้า) LDR = Light Dependent Resistor | |
เทอมิสเตอร์ | ตัวแปลงที่แปลงอุณหภูมิ(ความร้อน)เป็นความต้านทาน(คุณสมบัติทางไฟฟ้า) |
เกทตรรก(Logic Gates)กระบวนการสัญญาณเกทตรรกซึ่งแสดงค่าจริง(true) (1, สูง, +Vs, เปิด) หรือไม่จริง( false) (0, ต่ำ, 0V, ปิด).สำหรับรายละเอียดกรุณาดูที่หน้า เกทตรรก(Logic Gates) สำหรับสัญลักษณ์เกทมีสองแบบคือสัญลักษณ์แบบเก่า กับสัญลักษณ์แบบIEC(International Electrotechnical Commission). | |||
ชนิดเกท | สัญลักษณ์แบบเก่า | สัญลักษณ์แบบ IEC | หน้าที่ของเกท |
NOT นอต | นอตเกทมีขาเข้าเพียงหนึ่งขา ถ้าด้านออกเป็น'o' หมายถึง 'ไม่(not)' ด้านออกของนอตเกทจะตรงกันข้ามกับด้านเข้า ดังนั้นด้านออกจะเป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าไม่จริง(false) นอตเกทเรียกอีกอย่างว่าอินเวอเตอร์ | ||
AND แอนด์ | แอนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทแอนด์(AND)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาเป็นจริง | ||
NAND แนนด์ | แนนด์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า 'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตแอนด์ (Not AND) นั่นเอง ด้านออกของเกทแนนด์(NAND) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็น'o' | ||
OR ออร์ | ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ด้านออกของเกทออร์(OR) เป็นจริงเมื่อด้านเข้าอย่างน้อยหนึ่งขาเป็นจริง | ||
NOR นอร์ | นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าสองขาหรือมากกว่า ค่า'o' ทางด้านออกหมายถึง'ไม่(not)'ซึ่งก็คือเกท นอตออร์(Not OR) นั่นเอง ด้านออกของเกทนอร์(NOR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าทุกขาไม่เป็นจริง(เป็น 0 ทุกขา) | ||
EX-OR เอกซ์-ออร์ | เอกซ์-ออร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ด้านออกของเกทเอกซ์-ออร์(EX-OR)เป็นจริงเมื่อด้านเข้าต่างกัน (ขาหนึ่งจริงแต่อีกขาหนึ่งไม่จริง) | ||
EX-NOR เอกซ์-นอร์ | เอกซ์-นอร์เกทสามารถมีด้านเข้าเพียงสองขา ค่า'o'ที่ด้านออกหมายถึง'ไม่(not)' ซึ่งก็คือเกท นอตเอกซ์-ออร์(Not EX-OR) นั่นเอง ด้านออกของเกทเอกซ์-นอร์ (EX-NOR)เป็นจริง(true)เมื่อด้านเข้าเหมือนกัน(ทั้งจริงและไม่จริง) |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น